Cover เคล็ดลับการนวดหน้าแบบไทย เพื่อความผ่อนคลายและสุขภาพผิวที่ดี

Tatler ได้พูดคุยกับ คุณสิริรัตน์ ไชคำพา อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจาก ชีวาศรม อินเตอร์เนชันแนล อคาเดมี่ (Chiva-Som International Academy) กรุงเทพฯ เพื่อเรียนรู้ประโยชน์ของการนวดหน้าแบบไทยและเคล็ดลับในการนวดหน้าแบบไทยที่บ้าน

หลายคนคิดถึงการไปดูแลผิวหน้า แต่เมื่อฝนตกบ่อยๆ จะเดินทางแต่ละทีก็ไม่ค่อยสะดวก แต่รู้หรือไม่ว่าเราก็สามารถนวด หน้า ด้วยตัวเองที่บ้านได้ หากคุณยังไม่เคยลองนวดหน้าแบบไทย นี่เป็นเวลาที่เหมาะที่สุด เพราะการนวดลักษณะนี้เป็นหนึ่งในศิลปะการผ่อนคลายร่างกายที่เรียกว่า "ฤาษีดัดตน" ซึ่งเป็นหนึ่งในสาขาการแพทย์แผนไทยดั้งเดิม

การแพทย์แผนไทยเป็นวิธีธรรมชาติแบบองค์รวมเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีที่ได้รับการพัฒนามาเป็นเวลาหลายพันปี ซึ่งครอบคลุมถึงโภชนาการที่เหมาะสม การออกกำลังกาย การใช้สมุนไพร และการนวดบำบัด” อาจารย์สิริรัตน์ ไชคำภา หัวหน้าผู้สอนของ Chiva-Som International Academy กรุงเทพฯ กล่าว “เป้าหมายหลักคือการรักษาสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีตลอดจนการรักษาโรคและความเจ็บป่วย”

การออกกำลังกายแบบฤาษีไทยสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ และการออกกำลังกายแบบดั้งเดิมเหล่านี้เป็นการผสมผสานระหว่าง การหายใจ การนวดตัวเอง การยืดกล้ามเนื้อ และ การทำสมาธิ 

โดยประโยชน์บางประการของการนวดหน้าแบบไทย ได้แก่

· ส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลือง

· ส่งเสริมการมองเห็น

· รองรับอาการปวดศีรษะ/ไมเกรน

· ส่งเสริมความยืดหยุ่นและความคล่องตัว

· ทำให้เกิดความผ่อนคลาย

· ปรับสมดุลและส่งเสริมการไหลเวียนของพลังงาน

อาจารย์สิริรัตน์อธิบายขั้นตอนการนวดหน้าแบบไทยที่บ้าน เป็น 5 ขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

1. ท่าเสยผม

ใช้ปลายนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง กดเบา ๆ ที่เบ้าตา จากนั้นเลื่อนขึ้นไปที่หน้าผาก ค่อย ๆ เลื่อนขึ้นไปบนศีรษะลากยาวไปจนถึงท้ายทอยในท่าคล้ายเสยผม ทำซ้ำ 10 ครั้ง

2. ท่าทา 'แป้ง'

ใช้นิ้วกลางทั้งสองข้างกดลงบริเวณด้านข้างของจมูกทั้งสองข้าง แล้วเลื่อนขึ้นไปที่หน้าผาก จากนั้นไปจับที่ขมับทั้งซ้ายขวา ต่อเนื่องไปที่แก้มและจบที่คาง เหมือนประแป้งทั่วใบหน้า ทำซ้ำ 10 ครั้ง

3. ท่าเช็ดปาก

วางมือซ้ายไว้ที่แก้มขวา โดยให้นิ้วก้อยจรดกับติ่งหูด้านขวา จากนั้นเม้มปาก แล้วลากมือผ่านปากมาทางด้านซ้ายโดยที่ฝ่ามือแนบสนิทกับใบหน้า สลับไปทำทางขวา ทำซ้ำ 10 ครั้ง

4. ท่าเช็ดคาง

วางหลังมือซ้ายไว้ใต้คางโดยนิ้วกลางจรดกับติ่งหูข้างขวา จากนั้นลากมือไปทางด้านซ้าย ผ่านคางไปจนสิ้นสุดที่ใต้หูซ้าย สลับไปทำทางขวา ทำซ้ำ 10 ครั้ง

5. ท่ากดใต้คาง

วางนิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างไว้ตรงกลางคาง บริเวณกล้ามเนื้อใต้คาง โดยวางนิ้วในลักษณะตั้งฉากกับคาง จากนั้นก้มหน้าเพื่อต้านแรงกด ค้างไว้ 10 วินาที แล้วลากนิ้วมาจนสุดแนวขากรรไกรทั้งสองข้าง ทำซ้ำ 10 ครั้ง