The Rajkumari Ratnavati Girls School, India by Diana Kellogg Architects (Photo: Vinay Panjwani)
Cover โรงเรียนสตรีราชกุมารีรัตนาวดีในอินเดีย ออกแบบโดย Diana Kellogg Architects (ภาพ: Vinay Panjwani)

นี่คือ 10 งานสถาปัตยกรรมอันน่าทึ่งผ่านฝีมือของเหล่าผู้หญิงเก่ง ตั้งแต่อาคารดีไซน์ลูกคลื่นในลิสบอน ไปจนถึงโรงเรียนรักษ์โลกในอินเดีย

หากมองภาพจำในอดีต หลายคนอาจเข้าใจว่าส่วนร่วมของผู้หญิงกับเรื่องในบ้านคงมีเพียงเรื่องการเก็บกวาดดูแลบ้าน แต่เมื่อเวลาผ่านไป เราได้เห็นศักยภาพของผู้หญิงมากขึ้น จากจำนวนสถาปนิกหญิงมากฝีมือที่เพิ่มขึ้นและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย

เพื่อเฉลิมฉลองและแสดงความชื่มชมต่อบรรดาผู้หญิงเก่งเหล่านี้ Tatler ชวนมองย้อนกลับไปดูว่าความสำเร็จอันโดดเด่นของเหล่าสถาปนิกหญิงกับผลงานการสร้างสรรค์ที่น่าจดจำของพวกเธอ ตั้งแต่สถาปัตยกรรมดีไซน์ลูกคลื่นของพิพิธภัณฑ์ MAAT ในกรุงลิสบอน โปรตุเกส โดย Amanda Levete ไปจนถึงพิพิธภัณฑ์ศิลปะ "ลอยน้ำ" ในเซาเปาโล บราซิล รังสรรค์โดย Lina Bo Bardi 

อ่านเพิ่มเติม: 5 อาคารสุดพิเศษที่สะท้อนจิตวิญญาณแห่ง "DUNE"

1. ห้องสมุดแห่งเบอร์มิงแฮม สหราชอาณาจักร โดย Francine Houben จาก Mecanoo Architecten

Tatler Asia
Library of Birmingham, UK (Photo: Peter Glyn/ WikiCommons)
Above ห้องสมุดแห่งเบอร์มิงแฮม, สหราชอาณาจักร (ภาพ: Peter Glyn / WikiCommons)

ห้องสมุดแห่งเบอร์มิงแฮมตั้งอยู่ในจัตุรัส Palazzos Centenary ซึ่งเป็นลานจัตุรัสที่ใหญ่ที่สุดในเมือง ได้รับการออกแบบให้เป็นเสมือน "พระราชวัง" ของประชาชน เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ข้อมูล และวัฒนธรรมให้กับผู้คนหลากหลายวัยและวัฒนธรรม

ด้านหน้าของอาคารโดดเด่นด้วยพื้นผิวลวดลายอันละเอียดอ่อนของวงกลมที่เชื่อมต่อกัน ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะงานโลหะของอดีตเมืองอุตสาหกรรมแห่งนี้ โครงสร้างคานยื่นออกมาด้านนอกเพื่อเป็นร่มเงาให้แก่ผู้มาเยือน พร้อมระเบียงและสวนบริเวณด้านบนให้ผู้คนเพลิดเพลินได้เช่นกัน

นี่คือผลงานออกแบบโดย Francine Houben ครีเอทีฟไดเร็กเตอร์และหนึ่งในหุ้นส่วนผู้ก่อตั้งของบริษัทสถาปนิกสัญชาติดัตช์ Mecanoo Architecten ที่ได้รับรางวัลมากมาย อาคารแห่งนี้ได้รับคะแนน BREEAM Excellent (อยู่ใน 10 เปอร์เซ็นต์แรกของอาคารก่อสร้างใหม่ที่ไม่ใช่อาคารพักอาศัยในสหราชอาณาจักร) และได้รับรางวัล BBC Britain's Favorite New Building 2014 รวมถึงรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย

2. พิพิธภัณฑ์ MAAT ลิสบอน โปรตุเกส โดย Amanda Levete

Tatler Asia
MAAT Museum, Lisbon (Photo: Tobias Scheck/ WikiCommons)
Above พิพิธภัณฑ์ MAAT ในเมืองลิสบอน (ภาพ: Tobias Scheck / WikiCommons)

MAAT (Museum of Art, Architecture and Technology) หรือพิพิธภัณฑ์ศิลปะ สถาปัตยกรรม และเทคโนโลยี ที่อยู่ในย่านเบเลมของกรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส เป็นผลงานออกแบบของ Amanda Levete ที่ปูด้วยกระเบื้องเซรามิกสีขาว 15,000 แผ่น มีลักษณะเป็นลอนคลื่น ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากกระแสน้ำที่กระเพื่อมของแม่น้ำเทกัส ที่ขนาบข้างพิพิธภัณฑ์แห่งนี้

สถาปัตยกรรมรูปโค้งแห่งนี้ถูกออกแบบให้ยาวต่อเนื่องไปกับทางเดินเล่น และยังได้รับการออกแบบเพื่อให้ผู้มาเยือนสามารถเดินข้าม เดินข้างใต้ และเดินทะลุผ่านอาคารที่โค้งอย่างนุ่มนวลแห่งนี้ได้ ในปีแรกของการเปิดพิพิธภัณฑ์มีผู้เข้ามาเยี่ยมชมมากกว่า 500,000 คน ทำให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รับความนิยมมากกว่าพิพิธภัณฑ์สาธารณะใดๆ ของโปรตุเกส

Levete เป็นหัวหน้าของ AL_A สตูดิโอออกแบบและสถาปัตยกรรมที่ได้รับรางวัลระดับนานาชาติ และเป็นสถาปนิกหญิงที่ได้รับรางวัล RIBA Stirling Prize และรางวัล Jane Drew Prize สำหรับสถาปนิกหญิงในปี 2018

3. พิพิธภัณฑ์ The Broad ลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา โดย Elizabeth Diller จาก Diller Scofidio + Renfro

Tatler Asia
The Broad Museum, Los Angeles (Photo: Eric Garcetti/ WikiCommons)
Above พิพิธภัณฑ์ The Broad, ลอสแองเจลิส (ภาพ: Eric Garcetti / WikiCommons)

The Broad เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยที่สร้างขึ้นโดยการสนับสนุนของผู้ใจบุญอย่าง Eli และ Edythe Broad ตั้งอยู่บนถนนแกรนด์อเวนิวในตัวเมืองลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา

The Broad คือผลงานออกแบบของ Elizabeth Diller หุ้นส่วนบริษัท Diller Scofidio + Renfro (DS+R) เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสถาบันในการเป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการสาธารณะและพื้นที่จัดเก็บสำหรับห้องสมุดของมูลนิธิ เกิดเป็นแนวคิด "ม่านและห้องนิรภัย" (Veil and vault) ที่เป็นนวัตกรรมใหม่

แม้โดยปกติหลายคนอาจมองพื้นที่จัดเก็บของเป็นเรื่องรอง แต่สำหรับพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ "ห้องนิรภัย" มีความสำคัญยิ่งในการช่วยกำหนดรูปแบบประสบการณ์ของพิพิธภัณฑ์ ตลอดทางเข้าไปจนถึงทางออก มวลที่แน่นทึบของอาคารแห่งนี้จะลอยตัวอยู่ตรงกลางอาคารตลอดเวลา นอกจากนี้ "ห้องนิรภัย" นี้ยังถูกห่อหุ้มด้วย "ม่าน" ซึ่งเป็นโครงสร้างภายนอกที่มีรูพรุนคล้ายรวงผึ้ง ทอดยาวไปตลอดตัวอาคารที่มีความยาวหนึ่งช่วงตึก และยังกรองแสงธรรมชาติที่ผ่านเข้ามาในตัวอาคาร

Diller ได้รับการยกย่องให้อยู่ในรายชื่อ บุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุด 100 อันดับแรกของนิตยสารไทม์ และได้รับทุนมิตรภาพของมูลนิธิแมคอาเธอร์เป็นครั้งแรกในสาขาสถาปัตยกรรม

4. ปราสาทเฮิร์สต์ ซานไซเมียน แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา โดย Julie Morgan

Tatler Asia
Hearst Castle, San Simeon (Photo: Proimos/ WikiCommons)
Above ปราสาทเฮิร์สต์ ในซานไซเมียน (ภาพ: Proimos / WikiCommons)

ปราสาทเฮิร์ตส์ (Hearst Castle) หรือที่รู้จักกันในชื่อ La Casa Grande (บ้านหลังใหญ่) และ La Cuesta Encantada (เนินแห่งมนต์เสน่ห์) เป็นที่ดินของ William Randolph Hearst บารอนแห่งวงการหนังสือพิมพ์ในซานไซเมียน รัฐแคลิฟอร์เนีย

คฤหาสน์สไตล์เมดิเตอร์เรเนียนรีไววัลได้รับการออกแบบโดย Julie Morgan ซึ่งใช้เวลาสร้างโครงการนี้ตั้งแต่ปี 1919 - 1947 โดย Morgan เป็นผู้หญิงคนแรกที่ศึกษาสถาปัตยกรรมที่ Ecole des Beaux-Arts อันทรงเกียรติในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และเป็นผู้หญิงคนแรกที่ทำงานเป็นสถาปนิกมืออาชีพในแคลิฟอร์เนียอีกด้วย

ด้วยทักษะความเชี่ยวชาญของเธอ ทำให้เธอเหมาะสมในการเป็นผู้เนรมิตปราสาทเฮิร์สต์อันแสนสง่างามให้กลายเป็นที่พักอาศัยส่วนตัวที่หรูหราและโอ่อ่าที่สุดแห่งหนึ่งในโลก และเป็นที่ที่รวบรวมคอลเล็กชั่นโบราณวัตถุ งานศิลปะ และองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของเฮิร์สต์ไว้มากมาย นอกจากนี้เธอยังออกแบบโครงสร้าง พื้นที่ สระน้ำ ศูนย์พักพิงสัตว์ และค่ายคนงานส่วนใหญ่เป็นการส่วนตัวอย่างละเอียดถี่ถ้วนที่สุด

5. สำนักงานใหญ่ GSW เบอร์ลิน เยอรมนี โดย Louisa Hutton จาก Sauerbruch Hutton

Tatler Asia
GSW Headquarter, Berlin (Photo: Fred Romero/ WikiCommons)
Above สำนักงานใหญ่ GSW ในกรุงเบอร์ลิน (ภาพ: Fred Romero / WikiCommons)

บริษัท Sauerbruch Hutton จากเบอร์ลิน ชนะการแข่งขันออกแบบส่วนต่อขยายของอาคารสำนักงาน ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการแรกๆ ที่ถูกสร้างขึ้นระหว่างการฟื้นฟูกรุงเบอร์ลินในช่วงทศวรรษ 1950s

อาคารที่ออกแบบโดย Louisa Hutton ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทนี้กับ Matthias Sauerbruch ในลอนดอน เธอทำงานอยู่ที่กรุงเบอร์ลินตั้งแต่ปี 1993 และหอคอยแห่งนี้สร้างเสร็จในปี 1999

การออกแบบอาคารของ Hutton หลังนี้ ได้รับการยกย่องในเรื่องความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากส่วนหน้าอาคารใช้บานเกล็ดและมู่ลี่รับแสงอาทิตย์ กระจกสองชั้น และแสงธรรมชาติที่เพียงพอ

อาคารสูงระฟ้าแห่งนี้เป็นการออกแบบที่พาเราย้อนกลับไปสู่งานสถาปัตยกรรมสำนักงานในยุค 1950s ขณะเดียวกันก็ยังสะท้อนนวัตกรรมสุดล้ำด้วยเทคโนโลยีต่างๆ มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นแบบอย่างในเรื่องการควบคุมการใช้พลังงานแบบพาสซีฟ ขณะเดียวกันก็กำหนดนิยามใหม่ให้กับสถาปัตยกรรมที่คำนึงถึงคุณค่าความงามของพื้นที่อีกครั้ง

6. พิพิธภัณฑ์ศิลปะเซาเปาโล บราซิล โดย Lina Bo Bardi

Tatler Asia
São Paulo Museum of Art, São Paulo(Photo: gnumarcelo/ WikiCommons)
Above พิพิธภัณฑ์ศิลปะเซาเปาโล (ภาพ: gnumacelo / WikiCommons)

พิพิธภัณฑ์ศิลปะเซาเปาโลออกแบบโดย Lina Bo Bardi สถาปนิกสไตล์โมเดิร์นชาวบราซิลผู้ล่วงลับ เธอเกิดในอิตาลี และพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งเป็นที่รู้จักในฐานะผลงานออกแบบที่สำคัญที่สุดของเธอ

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างขึ้นบนถนน Avenida Paulista ของเมืองเซาเปาโล และเปิดให้เข้าชมครั้งแรกในปี 1968 ซึ่งเกือบทั้งหมดของอาคารจะตั้งอยู่บนเสาค้ำเหนือพลาซ่า เพื่อไม่ให้บดบังทัศนียภาพของเมือง อาคารแห่งนี้แสดงออกถึงการผสมผสานระหว่างองค์ประกอบแบบโมเดิร์นและบรูทัลลิสต์

แทนที่จะซ่อนเสาคอนกรีตขนาดใหญ่ที่ค้ำพิพิธภัณฑ์ไว้ Bo Bardi เลือกที่จะทาสีเสาเหล่านั้นเป็นสีแดงสดเพื่อดึงดูดความสนใจ

นวัตกรรมอีกอย่างหนึ่งคือวิธีที่เธอเลือกใช้งานศิลปะที่จะแสดง เธอท้าทายมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับของโลกแห่งศิลปะตะวันตกด้วยการวางภาพวาดในธีมต่างๆ และจากยุคต่างๆ ไว้เคียงข้างกันบนขาตั้งกระจก เผยให้เห็นว่าเธอไม่กลัวที่จะนำประวัติศาสตร์มาเล่าด้วยความคิดสร้างสรรค์

7. Museum Garage ไมอามี สหรัฐอเมริกา โดย Amale Andraos จาก WORKac

Tatler Asia
Museum Garage, Miami (Photo: Phillip Pessar/ WikiCommons)
Above Museum Garage ในไมอามี (ภาพ: Phillip Pessar / WikiCommons)

Museum Garage ในไมอามี ซึ่งออกแบบโดยบริษัทในนิวยอร์กอย่าง WORKac ได้เปลี่ยนการจอดรถที่เรียบง่ายและมักจะน่าหงุดหงิดให้กลายเป็นพื้นที่ที่ผู้คนจะมาพบปะพูดคุยกันได้อย่างคาดไม่ถึง

ที่จอดรถแห่งนี้ออกแบบโดย Amale Andraos ประธานและผู้ร่วมก่อตั้ง WORKac โดยเขาใช้พื้นที่ส่วนหน้าของอาคารอย่างชาญฉลาด ด้วยความลึกเพียง 4 ฟุต ด้านหน้าอาคารจึงถูกจัดวางเป็นพื้นที่สาธารณะแนวตั้ง เช่น แกลเลอรีสำหรับงานศิลปะกราฟฟิตี้ สนามเด็กเล่นพร้อมสไลเดอร์และกำแพงปีนเขา สวนที่มีต้นปาล์มต้นเดียว เวทีดีเจบนดาดฟ้า บันไดทางออก ห้องสมุด ห้องฟังเพลง น้ำพุ บาร์ เครื่องซักผ้า/ที่ชาร์จรถยนต์ และพื้นที่สำหรับสัตว์เลี้ยง

ที่จอดรถบางส่วนบนชั้นดาดฟ้าถูกรื้อออก เพื่อรองรับหอประชุมขนาดเล็กและพื้นที่ "ชายหาด" โดยมีพื้นที่เก็บน้ำซึ่งจะกักเก็บน้ำที่ไหลมาจากหลังคาเพื่อนำมาใช้ในสวน พื้นที่สาธารณะและบันไดที่เชื่อมต่อกันที่อยู่ด้านหน้าอาคารเป็นโครงตาข่ายที่เรียงกันเป็นแถว ดูคล้ายกับรังมดในเมืองใหญ่ติดกับถนนเบื้องล่าง

8. Aqua Tower ชิคาโก สหรัฐอเมริกา โดย Studio Gang

arrow left arrow left
arrow right arrow right
Photo 1 of 3 Aqua Tower ในชิคาโก ออกแบบโดย Jeanne Gang จาก Studio Gang (ภาพ: WikiCommons / Piet Theisohn)
Photo 2 of 3 Aqua Tower ในชิคาโก ออกแบบโดย Jeanne Gang จาก Studio Gang (ภาพ: WikiCommons / Piet Theisohn)
Photo 3 of 3 Aqua Tower ในชิคาโก ออกแบบโดย Jeanne Gang จาก Studio Gang (ภาพ: WikiCommons / Piet Theisohn)

Aqua Tower ตั้งอยู่ท่ามกลางหมู่ตึกระฟ้าของตัวเมืองชิคาโกที่ผู้คนทั่วโลกคุ้นเคยใน Lakeshore East ซึ่งออกแบบโดย Jeanne Gang จาก Studio Gang Architects สร้างเสร็จในปี 2009

ตึกระฟ้าสูง 82 ชั้นแห่งนี้ผสมผสานฟังก์ชั่นการใช้งานเข้ากับความสง่างามได้อย่างลงตัว ฐานของอาคารมีขนาด 140,000 ตารางฟุต เปิดทางให้มีระเบียงขนาด 82,550 ตารางฟุต สร้างแรงบันดาลใจอันตระการตาที่ประกอบด้วยสวน สระว่ายน้ำ กระทั่งหลุมไฟ

Gang และทีมงานของเธอให้ความสำคัญกับความยั่งยืน ผ่านองค์ประกอบต่างๆ เช่น แผงบังแสงอาทิตย์ ระบบประหยัดน้ำ และหลังคาสีเขียวขนาดใหญ่ แม้จะมีอุปสรรคความท้าทายเรื่องการเชื่อมโยงความร้อน ตึกแห่งนี้ได้รับการรับรองจาก LEED-NC และมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้พักอาศัย

รางวัลที่ตึก Aqua ได้รับมีตั้งแต่รางวัล Emporis Skyscraper Award ในปี 2009 และติดอันดับสถานที่อันทรงเกียรติ 200 แห่งในรัฐอิลลินอยส์ ถือเป็นอาคารที่สูงที่สุดที่ออกแบบโดยผู้หญิงเมื่อตอนสร้างเสร็จ

9. โรงเรียนสตรีราชกุมารีรัตนนาวดี อินเดีย โดย Diana Kellogg

arrow left arrow left
arrow right arrow right
Photo 1 of 4 โรงเรียน Rajkumari โรงเรียนสตรีราชกุมารีรัตนนาวดี ในประเทศอินเดีย โดยสถาปนิก Diana Kellogg (ภาพ: Vinay Panjwani)
Photo 2 of 4 โรงเรียน Rajkumari โรงเรียนสตรีราชกุมารีรัตนนาวดี ในประเทศอินเดีย โดยสถาปนิก Diana Kellogg (ภาพ: Vinay Panjwani)
Photo 3 of 4 โรงเรียน Rajkumari โรงเรียนสตรีราชกุมารีรัตนนาวดี ในประเทศอินเดีย โดยสถาปนิก Diana Kellogg (ภาพ: Vinay Panjwani)
Photo 4 of 4 โรงเรียน Rajkumari โรงเรียนสตรีราชกุมารีรัตนนาวดี ในประเทศอินเดีย โดยสถาปนิก Diana Kellogg (ภาพ: Vinay Panjwani)

กลางทะเลทรายธาร์แสนแห้งแล้งในรัฐราชสถานของอินเดีย เป็นที่ตั้งของโรงเรียนสตรีราชกุมารีรัตนนาวดี ซึ่งสร้างสรรค์โดยสถาปนิก Diana Kellogg แห่งนิวยอร์ก เป็นอาคารที่มีเอกลักษณ์ที่ผสมผสานนวัตกรรมและวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน โรงเรียนแห่งนี้รองรับเด็กผู้หญิงได้ถึง 400 คน ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาโดยเปิดสอนด้านศิลปะแบบดั้งเดิม เช่น การทอผ้าและการเย็บปักถักร้อย

สถาปัตยกรรมรูปวงรีนี้ได้รับการออกแบบให้อยู่ร่วมกับบริบทโดยรอบ และออกแบบมาให้ทนทานต่ออุณหภูมิที่ร้อนได้สูงถึง 50 องศาเซลเซียส โครงสร้างหินทรายสีทองมีลักษณะคล้ายอ้อมกอดที่ปกป้อง และเป็นสัญลักษณ์ของความยืดหยุ่นและความเป็นผู้หญิง โดยใช้เทคนิคการก่อสร้างแบบโบราณ เช่น ปูนขาว และผนังจาลี ทำให้อาคารแห่งนี้รักษาความเย็นเอาไว้ได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องปรับอากาศ องค์ประกอบนี้ยังทำหน้าที่เป็นพื้นที่เล็กๆ ที่ช่วยให้เหล่านักเรียนหญิงเล่นได้อย่างไม่มีข้อจำกัดในพื้นที่ปลอดภัยของลานนี้

อาคารหลังนี้ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ AD100 และรางวัล Honor Award จาก AIANY Design Awards ประจำปี 2022 และอื่นๆ อีกมากมาย

10. สเตเดียมฟุตบอล โบริโซฟ เบลารุส โดย Špela Videčnik จาก OFIS Architects

arrow left arrow left
arrow right arrow right
Photo 1 of 2 สเตเดียมฟุตบอลในโบริโซฟ เบลารุส โดย Špela Videčnik จาก OFIS Architects (ภาพ: iStock)
Photo 2 of 2 สเตเดียมฟุตบอลในโบริโซฟ เบลารุส โดย Špela Videčnik จาก OFIS Architects (ภาพ: iStock)

สนามฟุตบอลในเมืองโบริโซฟ ประเทศเบลารุส อันล้ำสมัยและน่าจับตามอง ได้รับการออกแบบโดย Špela Videčnik จาก OFIS Architects โดยคำนึงถึงข้อได้เปรียบตามธรรมชาติของสถานที่ และข้อจำกัดบางอย่างที่มีอยู่ภายในภูมิประเทศ ในขณะเดียวกันก็รักษาต้นไม้ที่มีอยู่ในไซต์ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ มีรั้วกั้นที่จะมองเห็นได้แค่จากระดับถนน เผยให้เห็นเพียงแต่โดมหลังคาเมื่อสังเกตจากมุมสูง

นี่คือวิสัยทัศน์ของ Videčnik ที่ผสมผสานความทันสมัยและความรู้สึกกลมกลืนเข้ากับสิ่งรอบตัว ภายนอกของอาคารดูเหมือนเป็นสิ่งทอที่ละเอียดอ่อนและมีรูพรุนพาดผ่านอยู่เหนือโครงของสนามกีฬา ในขณะที่ด้านล่างมีเส้นทางสัญจรสาธารณะที่มีชีวิตชีวา เต็มไปด้วยร้านค้าและสิ่งอำนวยความสะดวก

เหนือถนนที่พลุกพล่านสายนี้ มีแกลเลอรีต่างๆ ที่ตอบโจทย์หลากรสนิยมทางศิลปะ ไปจนถึงสำนักงาน ห้องรับรองวีไอพี และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับสื่อมวลชน ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองการออกแบบเชิงนวัตกรรมที่สร้างนิยามใหม่ของประสบการณ์ในสนามกีฬา


This story was originally written in English by Jennifer Choo.

ต้นฉบับเขียนเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2024 โดย Jennifer Choo โปรดคลิกที่นี่เพื่อดูเวอร์ชันภาษาอังกฤษ


อ่านเพิ่มเติม:

เปิดบ้าน ‘ร่ม สังขะวัฒนะ’ และชมศิลปะตกแต่ง บ้านสวย โก้หรู อยู่สบาย

พาทัวร์บ้าน: Park + Associates ดีไซน์บ้านหลังใหญ่สไตล์ Brutalist ด้วยแรงบันดาลใจจากธรรมชาติของเขาใหญ่

5 ย่านสวยในโตเกียว สำรวจสถาปัตยกรรมและการตกแต่งภายใน

Topics